วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของเครือข่าย

ประเภทของเครือข่าย

เมื่อกล่าวถึงทรัพยากรบนระบบเครือข่าย ในที่นี้จะคลอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อำนวยประโยชน์กับผู้ใช้ในระบบ เช่น แฟ้มข้อมูลฐานข้อมูล รูปภาพและสไลด์สำหรับเสนอผลงาน ตลอดจนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนระบบเครือข่าย ได้แก่ ฮาร์ดไดร์ฟที่มีการแชร์ไว้สำหรับให้บริการพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวสำหรับการโย้กยายแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย เครื่องโทรสาร เป็นต้น นอกจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในสภาพการณ์ ปัจจุบันนั่นก็คือ ข่าวสารข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการส่งข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง หรือการกระจายข่าวสารที่มีความสำคัญจากผู้บริหาร หรือฝ่าย สารสนเทศขององค์กรสภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายที่เอื้ออำนวยต่อการติดตอสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานในระบบนี้ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ประเภทของเครือข่าย
ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
      - LAN (Local Area Network) หรือเครือข่ายท้องถิ่น
      เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ ไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอีกมาก 
      -  MAM (Metropolitan Area Network) หรือเครือข่ายในเขตเมือง
  เครือข่ายแมนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมืองเพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กร
  WAN (Wide Area Network) หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
  เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน

ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น2 ประเภทดังนี้
     - Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน
     - Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ
ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้
- Internet หรือเครือข่ายสาธารณะ
เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่อง เชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้
- Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต
- Extranet หรือเครือข่ายร่วม
เครือข่ายร่วม หรือเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน

  ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ
•          File Server ลักษณะการทำงานแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์ในเครื่องตนเองโดยรับคำสั่งจากเวิร์กสเตชั่นหรือ Client อีกทอดหนึ่งวาจะอ่านหรือบันทึกข้อมูลกับไฟล์ใดแล้วจึงจัดการกับไฟล์ในดิสก์หรือสงขอมูลกลับไปตามที่ถูกขอมา แต่ถ้าในเวลาเดียวกันมีผู้ใช้หลายคนพยายามจะแก้ไขขอมูลชุดเดียวกัน ระบบปฏิบัติการของไฟล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะต้องป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกแก้ไขโดยผู้ใช้หลายคนพร้อมๆ กัน หรือเรียกว่าการ Lock คือขณะที่คนหนึ่งกำลังแก้ไขข้อมูลอยู่ตัวหนึ่งอยู่จะต้อง Lock ขอมูลนั้นไม่ให้คนอื่นเขามายุง (เรียกดูได้แต่แก้ไขไม่ได้) จนกวาจะเสร็จ คนอื่นๆ ที่จะเขามาแก้ไขต้องคอยจนกวาคนแรกจะยกเลิกการ Lock ก่อน
•          Application Server/ Database Server เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server ซึ่งจะย้ายหนาที่การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือ Database มาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เอง เช่น เมื่อเครื่อง Client ต้องการค้นหาข้อมูลเรคอร์ดหนึ่งที่มีเงื่อนไขตรงตามที่กำหนด แทนที่จะต้องอ่านข้อมูลทุกเรคอร์ด ทั้งไฟล์ มาเปรียบเทียบ ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลจำนวนมากผ่านสาย LAN ก็เปลี่ยนเป็นทางฝั่ง Client เพียงแค่ส่งชื่อไฟล์และเงื่อนไขที่ต้องการค้นหามาให้ Database Server ค้นหาแล้วส่งเฉพาะเรคอร์ดที่ต้องการกลับไป ซึ่งวิธีส่งเงื่อนไขให้คนหาขอมูลมาที่ Database Server นี้ปัจจุบันนิยมใช้เป็นภาษา SQL (Structure Query Language) จึงมักเรียก Database Server อีกอยางหนึ่งวา SQL Server
                Print Server เรียกว่าระบบ SPOOL (Simultaneous Peripheral Operation On-Line) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน โดยเครื่อง Client สั่งพิมพ์งานจะส่งข้อมูลไปให้เครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งก็จะรีบเอาข้อมูลนั้นเก็บลงฮาร์ดดิสก์ไว้ก่อน จากนั้นเมื่อมีเวลาว่างพอก็จะทยอยเอาข้อมูลของแต่ละคนที่ส่งมาเขาคิวกันไว้นั้นไปพิมพ์จริงๆ อีกทีหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น