คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายได้ จุดที่เชื่อมโยงเครือข่ายแล้วเรียกว่าโหนด (Node) ส่วนเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างโหนดเรียกว่าลิงก์ (Link) สาหรับลักษณะการเชื่อมโยงมีทั้งแบบการเชื่อมโยงกันโดยตรงระหว่างโหนดที่ต้องการติดต่อกันเรียกว่า การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) การเชื่อมโยงแบบนี้ถ้าหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์จานวนมากจะต้องใช้สายหลายเส้น การเชื่อมโยงอีกแบบหนึ่งจะเป็นการใช้สายสัญญาณร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง เรียกว่า การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multipoint) ซึ่งทาให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหรือเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ เช่น สายสัญญาณ หรือการ์ดเครือข่ายที่ใช้อยู่บนเครือข่าย Ethernet LAN ลงได้
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เครือข่ายนี้อาจเรียกว่า “เวิร์คกรุ๊ป (Work group)” โดยเครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ
ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช่แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้
เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้
แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้
ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้
2. สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Client-Server เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง
และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client-Server
สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก
และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม
แบบอ้างอิง OSI (OSI Reference model)
NOSI (Open
Systems Interconnect) Model เป็นแบบจำลอง
ที่อธิบายถึงโครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984
โดย Open Systems Interconnect
Layer1: Physical Layer
เป็นเลเยอร์ล่างสุดสำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
และกลไกการทำงานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
Layer2: Data Link Layer
เป็นเลเยอร์สำหรับการจัดเตรียมหน้าที่
และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย
และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical
Layer
Layer3: Network Layer
เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่
และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย
Layer4: Transport Layer
เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน
จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป
Layer5: Session Layer
เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น
(Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex
Layer6: Presentation
Layer
เป็นเลเยอร์สำหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล
เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด
หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
Layer7: Application Layer
เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด
ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย
IEEE (Institute of Electrical and Electronics
Engineers)
เป็นองค์กรสากล ที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานของ IEEE เป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานให้กับแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Ethernet LAN
หรือเรียกว่าเครือข่ายแลนแบบมีสาย โดยในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรฐานใหญ่ๆ คือ Fast Ethernet LAN และ Gigabit
Ethernet LAN
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Wireless LAN
หรือเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ เช่น สายสัญญาณ
หรือการ์ดเครือข่ายที่ใช้อยู่บนเครือข่าย Ethernet
LAN ลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น