วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูล


การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการในการส่งและการรับข้อมูล และการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งรับข้อมูลการสื่อสารข้อมูลแบ่งเป็นสองระดับคือ ระดับแรกเป็นการสื่อสารข้อมูลภายเครื่องในคอมพิวเตอร์ เช่น การรับส่งขอมูลระหว่างหน่วยประมวลผลกลางและอุปกรณ์รอบข้าง คือ แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และเครื่องอ่านจานแม่เหล็ก เป็นต้น การส่งข้อมูลในระดับที่สองเป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ประเทศเดียวกัน

การสื่อสารข้อมูล
คือ การโอนถ่าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล(Transmission) กันระหว่างต้นทางกับปลายทางโดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยอุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการถ่ายโอนหรือเคลื่อนย้ายข้อมูล รวมทั้งยังต้องอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล


1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ข้อมูล (Sender) และ ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)  มี 2 ชนิด คือ
1.1 DTE (Data Terminal Equipment)
ในการส่งข้อมูล ของคอมพิวเตอร์ DTE (data terminal equipment) เป็นการอินเตอร์เฟซ RS-232 C ที่คอมพิวเตอร์ ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยโมเด็ม หรืออุปกรณ์แบบอนุกรมอื่น ๆ สำหรับข้อมูลในอนาคตเกี่ยวกับการอินเตอร์เฟซ DTE และความสัมพันธ์กับการอินเตอร์เฟซแบบ data communication equipment (DCE) ให้ดูที่ RS-232 C
1.2 DCE (Data Communication Equipment)
อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ใช้ติดต่อระหว่างสัญญาณสื่อสาร (line) กับ DTE มีความสามารถเต็มที่ในการสื่อสาร ตัวอย่างของ DCE คือ Modem, สายอากาศ

2. โปรโตคอล (Protocol) หรือซอฟต์แวร์ (Software)
โปรโตคอล คือ วิธีการ หรือ กฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งข้อมูลเข้าใจกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ตัวอย่างคือ x.25, SDLC, TCP/IP
ซอฟต์แวร์ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการดาเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามที่โปรแกรมกำหนด ตัวอย่าง คือ Windows, Novell’s Netware

3. ข่าวสาร (Message)
ข่าวสาร คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร บางครั้งเรียกว่าสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารมี 4 รูปแบบคือ เสียง (Voice), ข้อมูล (Data), ข้อความ (Text), ภาพ (Picture)

4. สื่อกลาง (Medium)
เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นกำเนิดไปยังปลายทางสื่อกลางนี้อาจจะเป็น เส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล หรือสายไฟเบอร์ออปติก เป็นต้น หรืออาจจะเป็นคลื่นที่ส่งผ่านในอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

สื่อกลางส่งข้อมูล

สื่อกลางส่งข้อมูล ประกอบด้วยวัสดุและรวมถึงการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้เพื่อนำส่งสัญญาณ โดยสื่อกลางส่งข้อมูลอาจเป็นได้ทั้งแบบมีสายสัญญาณหรือเคเบิลต่างๆ รวมถึงสื่อกลางแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ อินฟราเรด หรือดาวเทียม เป็นต้น เมื่อมีการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สัญญาณเหล่านี้จะเดินไปตามสื่อกลาง และพื้นฐานความเป็นจริงสื่อกลางที่นามาใช้เพื่อเชื่อมโยงบนเครือข่ายที่มีระยะทางไกลๆ อาจประกอบด้วยสื่อกลางหลากหลายชนิดที่นำมาใช้งานร่วมกัน และอาจมีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมบนพื้นที่นั้นๆ สาหรับเทคนิคการส่งสัญญาณบนสื่อกลาง อาจส่งเพียงสัญญาณเดียว หรือมากกว่าหนึ่งสัญญาณก็เป็นได้ (สมโภชน์ ชื่นเอี่ยม, 2553)
1. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบเบสแบนด์ (Baseband) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสาหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย
2. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบบรอดแบนด์ (Broadband) เป็นการใช้ช่องทองการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อส่งสัญญาณอนาล็อก โดยแต่ละครั้งข้อมูลสามารถจัดส่งหรือลาเลียงบนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการส่งสัญญาณชนิดนี้จะมีระบบการจัดการที่ยุ่งยากกว่าการส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์มาก เพราะจะต้องจัดการกับจานวนข้อมูลต่างๆ ที่ลาเลียงอยู่บนหลายช่องความถี่บนสายส่ง สาหรับสื่อกลางข้อมูลที่นามาใช้เพื่อส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์นั้น จะรับรองความเร็วที่สูงกว่าแบบเบสแบนด์ และมีต้นทุนสูงกว่า โดยปัจจุบันมักมีการนาเทคโนโลยีบรอดแบนด์มาใช้งานตามบ้านเรือนที่พักหรือองค์กรธุรกิจมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีบรอดแบนด์อินเทอร์ เน็ตเป็นต้น

ชนิดของสื่อกลางข้อมูล

1. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย

สื่อกลางชนิดนี้จะใช้สายเพื่อการลำเลียงข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งประกอบด้วยสายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง

-             สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair cable)
ลักษณะของสายคู่บิดเกลียวแต่ละคู่จะทำด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้ม พันกันเป็นเกลียวเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 สาย คือ
1. UTP ไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน
2. STP แบบที่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน
     สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนาที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนาสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
-             สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ ความเร็วของแสง

2. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย

สื่อกลางชนิดนี้จะใช้ลำเลียงข้อมูลผ่านอากาศ ซึ่งภายในอากาศจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยคลื่นดังกล่าวจะมีทั้งคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่สูง ดังแสดง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
-    คลื่นวิทยุ (Cellular Radio)

ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่า อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
-    คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ(สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่ รับสัญญาณประมาณ 30-50 กม.
-   สัญญาณดาวเทียม (Satellite)
ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3ของพื้นผิวโลก เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียมเรียกว่า (Transponder) ไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์"
-    สัญญาณบลูทูธ (Bluetooth)
ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี .. 1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย อุปกรณ์ได้
-    อินฟราเรด (Infrared)
ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมนามาใช้งานสาหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล ซึ่งจะมีพอร์ต IrDA ที่ใช้สาหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สื่อสารด้วยคลื่นอินฟราเรด
-         -   สัญญาณไวเลส (Wireless)
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน

พิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูล

ในการใช้งานด้านการสื่อสารข้อมูลหรือการออกแบบเครือข่าย สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งทีควรพิจารณาก็คือ "การใช้สื่อกลางที่เหมาะสม" เพราะหากมีการเลือกใช้สื่อกลางที่ไม่เหมาะสมแล้ว เครือข่ายนั้นอาจไม่สมบูรณ์หรือนำไปสู่ความล้มเหลวได้ ซึ่งปัจจัยต่างๆ ที่ควรพิจารณา มีดังนี้ (สมโภชน์ ชื่นเอี่ยม, 2553)
1.ต้นทุน
พิจารณาต้นทุนของตัวอุปกรณ์ที่ใช้ การติดตั้งอุปกรณ์ เปรียบเทียบราคาของอุปกรณ์ และประสิทธิภาพการใช้งาน
2. ความเร็ว
ความเร็วในการส่งผ่านสัญญาณ จำนวนบิตต่อวินาที ความเร็วในการแพร่สัญญาณข้อมูลที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสื่อกลางไปได้
3. ระยะทาง
สื่อกลางแต่ละชนิดมีความสามารถในการส่งสัญญาณข้อมูลไปได้ในระยะทางต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้สื่อกลางแต่ละชนิดจะต้องทราบข้อจากัดด้านระยะทาง เพื่อที่จะต้องทาการติดตั้งอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณเมื่อใช้สื่อกลางในระยะไกล
4. สภาพแวดล้อม
เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในเลือกใช้สื่อกลาง เช่น สภาพแวดล้อมที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล จะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ ดังนั้นการเลือกใช้สื่อกลางควรเลือกสื่อกลางที่ทนทานต่อสัญญาณรบกวนได้ดี
5. ความปลอดภัยของข้อมูล
หากสื่อกลางที่เลือกใช้ไม่สามารถป้องกันการลักลอบนาข้อมูลไปได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจะต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งไปในสื่อกลาง และผู้รับก็ต้องมีการถอดรหัสที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน จึงจะสามารถนาข้อมูลนั้นไปใช้ได้

เกณฑ์วัดประสิทธิภาพเครือข่าย

ประสิทธิภาพของเครือข่ายพิจารณาจากกฎเกณฑ์ที่ใช้วัด (สมโภชน์ ชื่นเอี่ยม, 2553) ดังต่อไปนี้
1. สมรรถนะ สามารถประเมินได้หลายทางด้วยกัน ซึ่งคือช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการร้องขอข้อมูลจนได้รับข้อมูลกลับมา สมรรถนะของเครือข่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ดังนี้
1.1 จำนวนผู้ใช้งาน ถ้าหากมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายมาก ก็จะทาให้การสื่อสารข้อมูลในช่วงเวลาดังกล่าวมีความคับคั่ง และส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานด้อยลงไป
1.2 ชนิดสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล ควรเลือกใช้สื่อกลางที่เหมาะสมกับเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ หรืออาจเลือกสื่อกลางความเร็วสูงเพื่อรองรับอัตราการเติบโตของเครือข่าย
1.3 อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ส่งผลต่อความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล
1.4 ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะโดยรวมของเครือข่าย
2. ความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือของระบบเครือข่าย สามารถประเมินได้จากสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความถี่ของความล้มเหลว ความล้มเหลวดังกล่าวอาจเกิดจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือการออกแบบเครือข่ายที่ไม่ได้รับการวางแผนที่ดี
2.2 ระยะเวลาในการกู้คืน หากเป็นเครือข่ายที่ได้รับการออกแบบที่ดี ย่อมสามารถกู้คืนระบบให้กลับมาใช้งานดังเดิมได้ และหากใช้ระยะเวลาในการกู้คืนในระยะเวลาอันสั้น ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีของเครือข่าย
2.3 ความมั่นคงต่อความล้มเหลว เครือข่ายที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นต้องออกแบบระบบ Fault Tolerant ที่ดี
3. ความปลอดภัย เครือข่ายที่ดีจะต้องมีการออกแบบให้สามารถรองรับความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น
3.1 การป้องกันบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงระบบเครือข่ายโดยลักลอบเข้าสู่ระบบได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล หรือการมุ่งโจมตีทาร้ายระบบเครือข่ายเพื่อให้เกิดความเสียหาย
3.2 การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส และต้องอัพเดตโปรแกรมไวรัสอยู่เสมอ

ประเภทของเครือข่าย

ประเภทของเครือข่าย

เมื่อกล่าวถึงทรัพยากรบนระบบเครือข่าย ในที่นี้จะคลอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อำนวยประโยชน์กับผู้ใช้ในระบบ เช่น แฟ้มข้อมูลฐานข้อมูล รูปภาพและสไลด์สำหรับเสนอผลงาน ตลอดจนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนระบบเครือข่าย ได้แก่ ฮาร์ดไดร์ฟที่มีการแชร์ไว้สำหรับให้บริการพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวสำหรับการโย้กยายแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย เครื่องโทรสาร เป็นต้น นอกจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในสภาพการณ์ ปัจจุบันนั่นก็คือ ข่าวสารข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการส่งข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง หรือการกระจายข่าวสารที่มีความสำคัญจากผู้บริหาร หรือฝ่าย สารสนเทศขององค์กรสภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายที่เอื้ออำนวยต่อการติดตอสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานในระบบนี้ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ประเภทของเครือข่าย
ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
      - LAN (Local Area Network) หรือเครือข่ายท้องถิ่น
      เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ ไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอีกมาก 
      -  MAM (Metropolitan Area Network) หรือเครือข่ายในเขตเมือง
  เครือข่ายแมนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมืองเพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กร
  WAN (Wide Area Network) หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
  เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน

ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น2 ประเภทดังนี้
     - Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน
     - Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ
ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้
- Internet หรือเครือข่ายสาธารณะ
เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่อง เชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้
- Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต
- Extranet หรือเครือข่ายร่วม
เครือข่ายร่วม หรือเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน

  ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ
•          File Server ลักษณะการทำงานแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์ในเครื่องตนเองโดยรับคำสั่งจากเวิร์กสเตชั่นหรือ Client อีกทอดหนึ่งวาจะอ่านหรือบันทึกข้อมูลกับไฟล์ใดแล้วจึงจัดการกับไฟล์ในดิสก์หรือสงขอมูลกลับไปตามที่ถูกขอมา แต่ถ้าในเวลาเดียวกันมีผู้ใช้หลายคนพยายามจะแก้ไขขอมูลชุดเดียวกัน ระบบปฏิบัติการของไฟล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะต้องป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกแก้ไขโดยผู้ใช้หลายคนพร้อมๆ กัน หรือเรียกว่าการ Lock คือขณะที่คนหนึ่งกำลังแก้ไขข้อมูลอยู่ตัวหนึ่งอยู่จะต้อง Lock ขอมูลนั้นไม่ให้คนอื่นเขามายุง (เรียกดูได้แต่แก้ไขไม่ได้) จนกวาจะเสร็จ คนอื่นๆ ที่จะเขามาแก้ไขต้องคอยจนกวาคนแรกจะยกเลิกการ Lock ก่อน
•          Application Server/ Database Server เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server ซึ่งจะย้ายหนาที่การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือ Database มาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เอง เช่น เมื่อเครื่อง Client ต้องการค้นหาข้อมูลเรคอร์ดหนึ่งที่มีเงื่อนไขตรงตามที่กำหนด แทนที่จะต้องอ่านข้อมูลทุกเรคอร์ด ทั้งไฟล์ มาเปรียบเทียบ ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลจำนวนมากผ่านสาย LAN ก็เปลี่ยนเป็นทางฝั่ง Client เพียงแค่ส่งชื่อไฟล์และเงื่อนไขที่ต้องการค้นหามาให้ Database Server ค้นหาแล้วส่งเฉพาะเรคอร์ดที่ต้องการกลับไป ซึ่งวิธีส่งเงื่อนไขให้คนหาขอมูลมาที่ Database Server นี้ปัจจุบันนิยมใช้เป็นภาษา SQL (Structure Query Language) จึงมักเรียก Database Server อีกอยางหนึ่งวา SQL Server
                Print Server เรียกว่าระบบ SPOOL (Simultaneous Peripheral Operation On-Line) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน โดยเครื่อง Client สั่งพิมพ์งานจะส่งข้อมูลไปให้เครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งก็จะรีบเอาข้อมูลนั้นเก็บลงฮาร์ดดิสก์ไว้ก่อน จากนั้นเมื่อมีเวลาว่างพอก็จะทยอยเอาข้อมูลของแต่ละคนที่ส่งมาเขาคิวกันไว้นั้นไปพิมพ์จริงๆ อีกทีหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรมเครือข่าย

       คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายได้ จุดที่เชื่อมโยงเครือข่ายแล้วเรียกว่าโหนด (Node) ส่วนเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างโหนดเรียกว่าลิงก์ (Link) สาหรับลักษณะการเชื่อมโยงมีทั้งแบบการเชื่อมโยงกันโดยตรงระหว่างโหนดที่ต้องการติดต่อกันเรียกว่า การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) การเชื่อมโยงแบบนี้ถ้าหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์จานวนมากจะต้องใช้สายหลายเส้น การเชื่อมโยงอีกแบบหนึ่งจะเป็นการใช้สายสัญญาณร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง เรียกว่า การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multipoint) ซึ่งทาให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหรือเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ เช่น สายสัญญาณ หรือการ์ดเครือข่ายที่ใช้อยู่บนเครือข่าย Ethernet LAN ลงได้

สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เครือข่ายนี้อาจเรียกว่า “เวิร์คกรุ๊ป (Work group)” โดยเครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช่แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้


2. สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Client-Server เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client-Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม

แบบอ้างอิง OSI (OSI Reference model)
            NOSI (Open Systems Interconnect) Model เป็นแบบจำลอง ที่อธิบายถึงโครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect
Layer1: Physical Layer
            เป็นเลเยอร์ล่างสุดสำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทำงานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
Layer2: Data Link Layer
            เป็นเลเยอร์สำหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer
Layer3: Network Layer
เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย
Layer4: Transport Layer
เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป
Layer5: Session Layer
            เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex
Layer6:  Presentation Layer
            เป็นเลเยอร์สำหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
Layer7: Application Layer
เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย

IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) 
            เป็นองค์กรสากล ที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานของ IEEE เป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานให้กับแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Ethernet LAN
            หรือเรียกว่าเครือข่ายแลนแบบมีสาย โดยในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรฐานใหญ่ๆ คือ Fast Ethernet LAN และ Gigabit Ethernet LAN
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Wireless LAN
            หรือเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ เช่น สายสัญญาณ หรือการ์ดเครือข่ายที่ใช้อยู่บนเครือข่าย Ethernet LAN ลงได

องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ถ้าปราศจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายทำงานได้ ซึ่งอุปกรณ์สาหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างกันไปหลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างสูงสุด

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
1.  คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง ขึ้นไเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สื่อสารในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน


2. เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) 
        เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้


3. สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมู เช่น สายสัญญาณ สายสัญญาณที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ได้แก่ 


      - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
        สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบาง
แต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า เรียกสั้นๆ ว่า ":""''สายโคแอก"

      - สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair)
        เป็นสายทองแดงแบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อบ้านและบริษัทต่าง ๆ กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อลด cross talk หรือการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างคู่สาย จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวนพันกันเป็นเกลียว แต่ละการเชื่อมต่อบนสาย twisted pair ต้องการทั้ง 2 สาย เนื่องจากโทรศัพท์บางแบบหรือที่ตั้งโต๊ะ บางที่ต้องการเชื่อมแบบหลายการเชื่อมต่อ สาย twisted pair ในบางครั้งจึงมี 2 คู่ หรือมากกว่าภายในสายเคเบิลเดียว สำหรับที่ตั้งบริษัทบางแห่ง สาย twisted pair มีการหุ้มเพื่อทำหน้าที่เป็นสายดิน ซึ่งเรียกว่า shield twisted pair (STP) สายที่ใช้ตามบ้านทั่วไปคือ unshielded twisted pair (UTP)
      - เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
        เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก



อุปกรณ์เครือข่าย มีดังนี้


      - Hub
        ฮับ คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมีHub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
      - switch

        สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี (อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามา แอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
      - Repeater


        รีพีตเตอร์หรือเครื่องทวนซ้ำสัญญาณ เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้เครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัดของเครื่องทวนซ้ำสัญญาณคือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้รับมาเท่านั้น จำไม่มีการติดต่อกับระบบเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
      -  Bridge

     บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป
      - Gateway

        เกตเวย์ เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway


     -  Router


        เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) เข้ากับระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) ขนาดใหญ่

4. โปรโตคอล (Protocol) 
       โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นต้องใช้ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น


5. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System)
       ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2007, Windows Server 2008, Novell NetWare, Sun Solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น